
เริ่มชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับวิชา TGAT ENG ประเดิมสอบครั้งแรกกับน้อง #Dek66 หลังจากที่เฝ้ารอแนวทางกันมาอย่างยาวนาน ก็เป็นอันฟันธงแล้วว่า ต้องติว Speaking & Reading แน่ๆ แต่!... อย่าชะล้าใจ ก่อนจะเริ่มติว เราต้องมาวิเคราะห์สิ่งที่ Blueprint บอกกันก่อน
พาร์ทไหนยากสุด? พาร์ทไหนทำคะแนนง่ายสุด? ทิ้งแกรมม่าได้เลยหรือเปล่า? มาหาคำตอบกัน!
ส่วนที่ 1 Speaking Skill
- การถาม–ตอบ (Question-Response)
- เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations)
- เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations)

ในส่วน Speaking Skill แนวโจทย์จะให้เราเลือกคำตอบมาต่อบทสนทนา เป็นส่วนที่เชื่อว่าน้องๆ พอทำไหว แต่อย่าได้ใจเชียวนะ! เพราะ #Dek65 ก็พลาดท่าส่วนนี้มาแล้ว
แม้ตัวโจทย์อาจจะง่าย แต่ความยากบางทีไปอยู่ที่ช้อยส์ ฉะนั้นควรฝึกการเจอโจทย์แบบนี้ให้เยอะๆ ฝึกความคุ้นชินกับบริบทการสนทนา ก็จะช่วยได้มากเลยทีเดียว
ส่วนที่ 2 Reading Skill
- เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (TGAT ENG – Text completion)
- อ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension)

และแล้วก็มาถึงจุดที่เป็นประเด็น! กับส่วนของ “เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text completion)” ลักษณะข้อสอบ จะเป็นการหยิบบทความสั้นๆ มา 1 paragraph แล้วตัดแยกส่วน เพื่อให้เราใส่กลับไปให้สมบูรณ์
ซึ่งการออกข้อสอบแบบนี้ มีความท้าทายมาก เพราะรูปแบบเดียวก็จริง แต่วัดทักษะ 3 อย่างด้วยกัน! คือ (ไวยกรณ์ grammar), คำศัพท์ (Vocab) และ ความเข้าใจเนื้อหา (comprehension)
ฉะนั้น จะบอกว่าตัดทิ้ง grammar และ Vocab ไม่ได้นะจาาาา
ส่วนต่อมาคือ “อ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension)”
ส่วนนี้ค่อนข้างเบาใจ เพราะลักษณะเหมือนทุกๆ สนามสอบ คือ อ่านจับใจความ หา main idea
สรุป!
ดูรวมๆ ไม่น่าเกินความสามารถทุกคน มีความคล้าย TOELC คือ ข้อสอบจะเน้นการใช้ภาษาอังกฤษใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ต้องฝึกหนักๆ จะเป็นเรื่อง Speed test มากกว่า เพราะเวลาค่อนข้างกระชั้นชิด
และที่ต้องระวัง! คนออกสอบในส่วนของ TGAT ENG มาจากการผนึกกำลัง 3 สถาบัน ได้แก่ จุฬาฯ มธ. และ มศว นี้คือสิ่งที่เราไม่อาจเดาใจได้ว่า ข้อสอบจะออกมายากมากน้อยแค่ไหน การเตรียมตัวจึงสำคัญมากๆ
อย่าลืมกด LIKE 👍 Facebook Fanpage ของ ออนดีมานด์ TGAT เชื่อมโยง by OnDemand เพื่อไม่ให้พลาด สาระดีๆ ข่าวสาร และสิทธิพิเศษ นะคร้าบบ
บทความอื่นๆ

การสอบ IJSO คืออะไร? ต่างกับ สอวน. อย่างไร?
IJSO คืออะไร? ต่างกับการสอบสอวน.ยังไง น้องๆ สงสัยกันหรือเปล่าครับ วันนี้พี่ๆ ออนดีมานด์มีคำตอบมาให้อย่างละเอียดเลย ทั้งรูปแบบการแข่งขัน การรับสมัคร การสอบ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการสมัครสอบแข่งขันเหล่านี้อีกด้วย อย่ารอช้า ไปอ่านกันเลยดีกว่า!! การสอบ IJSO คือ การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Junior Science Olympiad) รวม 3 วิชา คือ

TGAT ผ่านฉลุย ต้องติวด้วยเทคนิคเหล่านี้!
ข้อสอบ TGAT ไม่ใช่แค่เป็นของใหม่สำหรับ #Dek66 แต่เป็นของใหม่ที่เด็กทุกคนต้องเตรียมการให้พร้อมต่อจากนี้ ไม่มีแบบแผนหรือรีวิวจากปีไหนๆ มาช่วยไกด์ (เพราะมันสอบปี66 เป็นครั้งแรก) น้องๆ หลายคนจึงต้องวางแผนการติวเองแบบไม่เห็นข้อสอบมาก่อน… แต่! พี่ๆ ออนดีมานด์ มีเคล็ดลับในการติว TGAT ให้ผ่านฉลุยมาฝากกันครับ เจาะกันไปในแต่ละพาร์ทเลย เริ่ม! TGAT Eng การสื่อสารภาษาอังกฤษ พยายามเจอโจทย์ Conversation เยอะๆ

สอบเข้า ม.1 แข่งขัน รับสมัครเท่าไหร่? สถิติห้องเรียนปกติ ปี65
พ่อ-แม่ทุกคนล้วนมีความหวังที่จะเห็นลูกๆ ได้เข้าโรงเรียนชั้นนำ หลายครอบครัวเองก็พร้อมปั้นน้องๆ ให้ สอบเข้า ม.1 ติด เมื่อเกิดการแข่งขันแบบนี้ การรู้จำนวนรับและวิเคราะห์อัตราการแข่งขันของโรงเรียน จะช่วยให้เราวางแผนในการสอบติดได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นเรามาวิเคราะห์สถิติจำนวนรับ-จำนวนสมัครจากปี 65 ของ ม.1แข่งขัน กันครับ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จำนวนรับ 249 จำนวนสมัคร 1,437 อัตราการแข่งขัน 1:4.89 โรงเรียนสตรีวิทยา จำนวนรับ 378

กสพท. TPAT1 ไม่ยาก? ถ้ามีตัวช่วยดีๆ ติดตัว!
ด่านแรกที่ต้องเจอสำหรับน้องที่เลือกเส้นทางสายหมอ ก็คือ วิชา TPAT1 หรือวิชาความถนัดแพทย์ กสพท. (หรือจะเรียกวิชาเฉพาะแพทย์ก็ได้) ที่ TCAS66 จัดไว้ให้ก่อนไปเจอกับ A-Level ฉะนั้นถ้าทำด่านแรกได้ดี ด่านต่อไปจะยิ่งมีกำลังใจสู้! แต่จะไปให้ถึงความสำเร็จนั้น มาดูกันว่าต้องฝึกอะไรติดตัวไว้บ้าง? ฝึก Speed Test TPAT1 พาร์ทเชาว์ปัญญา พาร์ทเชาวน์ปัญญา แบ่งได้ง่ายๆ เป็น 2 กลุ่ม