รวม คลิปติวชีวะ ดูฟรี!! กับเนื้อหาสุดยากกกส์ ที่น้องๆ ถามเข้ามาเยอะมากกก ในระบบ Clear วันนี้ พี่วิเวียน นพ.วีรวัชร เอนกจำนงค์พร จะมาตอบให้ครบทุกข้อสงสัย โดยพี่ๆ สรุปรวมเนื้อหามาให้ครบทั้ง 12 เรื่อง 12 คลิปในบทความนี้แล้ว ไปอ่านกันได้เลยจ้า
หรืออยากจะดูเป็น คลิปติวชีวะ จากพี่วิเวียน ได้เลยที่ https://bit.ly/2YXljb0
EP1 Capillary bed และ วิธีนับตำแหน่ง
Capillary bed คือ ร่างแหของ Capillary โดยเลือดจะวิ่งผ่าน Artery เข้า Arteriole ผ่าน Capillary เข้าสู่ Venule ไป Vein ง่ายๆ คือ ถ้าจะผ่านจากเส้นเลือดแดงไปเส้นเลือดดำต้องผ่าน 1 capillary bed
*Capillary มีเยอะมากนับไม่ถ้วนอยู่แล้ว เราจึงไม่นับ Capillary ทั้งหมด แต่นับ Capillary 1 กลุ่ม = 1 bed นั่นเอง
EP2 ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ปอด
ออกซิเจน จากถุงลมปอดจะวิ่งเข้าสู่เม็ดเลือดแดง ออกซิเจน 4 โมเลกุลจะมาจับกับโปรตีน 4 subunit ใน hemogoblin เกิดเป็น oxyhemogoblin
คาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนหนึ่งประมาณ 10% จะออกจากเซลล์และไปจับกับ hemogoblin ชื่อว่า carbaminohemoglobin และคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่จะทำปฏิกิริยากับน้ำด้วยเอนไซม์ที่ชื่อว่า carbonic anhydrease ได้เป็นกรด carbonic แล้วแตกตัวให้กรด (โปรตอน) และไบคาร์บอนเนต (ไอออน) แล้วกรดจึงไปจับกับ hemogoblin ส่วนไบคาร์บอนเนตจะถูก facillitated แลกกับ chloride ออกไปนอกเซลล์ละลายอยู่ในพลาสมา
กระบวนการดังกล่าวนำไปสู่การแลกเปลี่ยนก๊าสที่ถุงลมปอดโดยผ่าน Hemogoblin วนไปจ้าา
EP3 linkage group กับ linked gene
linked gene คือ ยีนที่อยู่บนโครโมโซมแท่งเดียวกัน และเรียกยีนทุกตัวที่อยู่บนโครโมโซมแท่งเดียวกันว่า linkage group นั่นเอง
EP4 หมู่เลือด Rh กับการจ่ายยาให้แม่หลังคลอด
ผู้ที่มีหมู่เลือด Rh- คือคนที่ไม่มีทั้งแอนติเจน Rh ในเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง และแอนติบอดี Rh ในพลาสมา เมื่อรับเลือด Rh+ ครั้งแรกไม่อันตราย เพราะ ยังสร้างแอนติบอดีไม่ทัน แต่ถ้ารับครั้งต่อไปแอนติบอดี้ที่สร้างไว้แล้วในร่างกายผู้รับจะต่อต้านแอนติเจนในเลือดผู้ให้ ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เสียชีวิตได้
ยาตระกูล Rho คือ แอนดิบอดี Rh สังเคราะห์ โดยหลักการหมอจะจ่ายยาตัวนี้ให้กับคุณแม่ Rh- หลังคลอด เพื่อทำลายแอนติเจนจากร่างกายลูกที่ไหลเข้ามาปะปนในร่างกายแม่ตอนถุงน้ำคร่ำแตก ป้องกันการสร้างแอนติบอดีในร่างกายแม่ที่จะทำให้เกิดอันตรายกับการท้องลูก Rh+ คนต่อไปได้
EP5 species กับ specific epithet ต่างกันยังไง
ชื่อ species ต้องมี Genus + specific epithet เปรียบให้เข้าใจง่ายๆ Genus เหมือน “ชื่อ” specific epithet เหมือน “นามสกุล” ดังนั้น species ก็จะเหมือน “ชื่อเต็ม” ที่ระบุตัวตัวของสิ่งมีชนิดนั้นนั่นเอง
EP6 ปัจจัยจำกัดของ Chthamalus คืออะไร
ตรงนี้มาจาก competitive exclusion principle คือการอยู่ร่วมกันทำให้เกิดการแข่งขันและแบ่งโซน จากการทดลองเลี้ยงเพรียง Chthamalus กับ Balanus แยกกันพบว่า น้ำขึ้น-น้ำลง เป็นปัจจัยจำกัดของทั้งคู่ แต่จะมีผลมากกว่าใน Balanus เพราะ Chthamalus อยู่บนโขดหินที่สูงกว่าได้ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงรวมกันจะเกิด การแก่งแย่งแข่งขัน Balanus ที่ตัวใหญ่กว่าจะยึดครองพื้นที่ล่างของโขดหิน และ Chthalamalus จะต้องกระจายตัวอยู่ที่โขดหินชั้นบนที่ Balanus ไปไม่ถึงและต้องเป็นจุดที่น้ำทะเลยังมาถึง รวมทั้งไม่สามารถลงมาแทรกแซงในพื้นที่ของ Balanus ได้เลย
EP7 redifferentiation, dedifferentiation คืออะไร ต่างกันยังไง
เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการเติบโตของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะพืชกับสัตว์ จะมีสิ่งที่เรียกว่า differentiation คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงเซลล์ตั้งต้นไปทำหน้าที่เฉพาะ เช่น ไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงก็จะต้องสลายนิวเคลียส
redifferentiation กับ dedifferentiation เป็นปรากฏการที่เกิดเฉพาะในพืช โดยพืชจะมีเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (meristem) และ เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue) และการเปลี่ยนจาก meristem เป็น permanent จะเรียกว่า differentiation เช่นกัน
แต่ dedifferentiation คือการเปลี่ยนจาก permanent ย้อนกลับไปเป็น meristem และ redifferentiation ก็คือการที่เกิดการ defferentiation แล้วมีการ differentiation ครั้งใหม่เกิดขึ้นอีกครั้ง
EP8 เมื่อดับไฟ PGA & RuBP ใน Calvin cycle ไปต่อยังไง
คำถามนี้มากจากวิชาสามัญ ปี52 ที่ค่อนข้างเก่า น้องๆ ต้องเข้าใจก่อนว่า Calvin cycle หรือวัฐจักรเคลวิน ขึ้นชื่อว่าวัฐจักร สาร PGAL PGA RuBP จะคงที่ เพราะมันสร้างใหม่และใช้ไปอย่างสมดุล
แต่เมื่อดับไฟ Light reaction จะหายไป RuBisCO ที่ใช้แสงในการกระตุ้นให้ทำงานก็จะยังคงทำงานไปได้อีกสักพักแม้จะไม่มีแสง เพราะ RuBisCO ไม่ได้ใช้แสงเป็นวัตถุดิบในการผลิต มันจะยังคงทำหน้าที่ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ เปลี่ยน RuBP เป็น PGA ไปเรื่อยๆ
ขณะที่เมื่อไม่มีแสงมาเป็นสารพลังงานสูง PGA ก็เปลี่ยนเป็น PGAL ไม่ได้ และ PGAL ก็เปลี่ยนเป็น RuBP ไม่ได้เช่นกัน
ดังนั้นเมื่อไม่มีแสง PGA ก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ RubP และ PGAL จะต่ำลง
EP9 กลไกการป้องกันไฟฟ้าไหลย้อนกลับในเซลล์ประสาท มีกลไกยังไง
อย่างแรกคือเข้าใจ action potential หรือกระบวนการเปลี่ยนแปลงของศักย์ไฟฟ้าในส่วนหนึ่งของ axon ที่เปลี่ยนจากประจุ – เป็นประจุ + กระแสไฟฟ้าจะวิ่งจากขั้วบวกไปขั้วลบจากการไหลเข้ามาอย่างมหาศาลของโซเดียมที่เป็นประจุ + และสาเหตุที่มันไม่ไหลย้อนกลับนั่นเป็นเพราะ โซเดียมจะวิ่งไปจากจุดที่โซเดียมสูง ไปหา จุดที่โซเดียมต่ำ มันจึงไม่ย้อนกลับไปในทางที่มันมาซึ่งยังมีโซเดียมสูงอยู่นั่นเอง
EP10 positive feedback & negative feedback ต่างกันยังไง
ในระบบต่อมไร้ท่อเราจะเจอคำว่า positive feedback และ negative feedback อยู่เสมอ ลองจำง่ายๆ เหมือนสายพานในโรงงานผลิต positive feedback คือการกระตุ้นให้เกิดการผลิตฮอร์โมนที่ขาดแคลนในร่างการเพิ่มขึ้น negative feedback คือการระงับการผลิตฮอร์โมนที่ร่างกายมีมากเพียงพอแล้วนั่นเอง
EP11 glycoprotein & glycolipid มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร
ย้อนกลับไปถึงเรื่องเยื่อหุ้มเซลล์ ที่มี 3 สิ่งอยู่ด้วยกันคือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และ ลิพิด ในเวลาทำงานมันจึงจับกันเป็นคู่ แยกออกเป็น glycoprotein และ glycolipid
glycoprotein – มีหน้าที่ทำให้โมเลกุลโปรตีนนั้นเสถียรขึ้น และสามารถช่วยระบุตัวตนของสิ่งมีชีวิตได้ระดับหนึ่ง
glycolipid – มีหน้าที่แสดงตัวตนลึกไปจนถึงการสื่อสารระหว่างเซลล์
EP12 แรงดันออสโมซิสและแรงดันเต่งต่างกันยังไง
การลำเลียงสารแบบออสโมซิสจะมีแรงดันที่เกี่ยวข้องด้วยกันคือ แรงดันออสโมซิสและแรงดันเต่ง จำง่ายๆ ว่าตรงไหนที่น้ำไป ตรงนั้นจะเกิดแรงดันเต่ง แต่ถ้ามันเต่งจนพื้นที่ปิดนั้นไม่สามารถขยายได้อีกแล้ว เราจะเรียกแรงดันสูงสุดที่ไม่ทำให้ภาชณะแตกออกว่า “แรงดันออสโมซิส”
เป็นยังไงกันบ้างคร้าบบ กับ คลิปติวชีวะ ดูฟรี Clear on Clip by พี่วิเวียนออนดีมานด์ อันดับ 1 เรื่องชีววิทยาตัวจริง อยากเรียนชีวะให้เคลียร์ ครบ เรียนกับพี่วิเวียนเท่านั้นจ้าา
ดูคลิปติวชีวะทั้งหมดได้ที่ Youtube: ondemandacademy
อย่าลืมกด LIKE 👍 Facebook Fanpage ของ ออนดีมานด์ OnDemand สถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ เพื่อไม่ให้พลาด สาระดีๆ ข่าวสาร และสิทธิพิเศษ นะคร้าบบ
บทความอื่นๆ
เข้า ม.ขอนแก่น รอบ1 รอบ 2 ต้องเตรียมตัวยังไง ?
อยากเข้าม.ขอนแก่น ต้องรู้ ! รีบเตรียมตัวก่อนเข้าจะได้ไม่พลาด น้อง ๆ ส่วนใหญ่อยากติดตั้งแต่รอบ1 และรอบ2 เพราะไม่ต้องใช้เวลาในการอ่านหนังสือเยอะเท่ารอบแอดมิชชั่น แต่ต้องมีการเตรียมตัวในระยะยาว และมีคุณสมบัติตามที่แต่ละคณะ มหาวิทยาลัยกำหนด TCAS รอบที่ 1 (Portfolio) เป็นการรับสมัครที่พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานของผู้สมัครโดย ไม่มีการสอบข้อเขียน ซึ่งเหมาะสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษหรือมีผลงานโดดเด่นในด้านต่างๆ โครงการที่เปิดรับในรอบ Portfolio การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โครงการพิเศษสำหรับผู้มีศักยภาพสูงทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
NETSAT คืออะไร? รู้จักข้อสอบและแนวข้อสอบก่อนเข้าม.ขอนแก่น
NETSAT (National Educational Test for Scholastic Aptitude) เป็นข้อสอบวัดความสามารถทางวิชาการที่จัดโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) โดยออกแบบมาเพื่อใช้คัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผ่านระบบ TCAS โดยเฉพาะรอบ Portfolio และรอบที่ใช้คะแนน NETSAT เป็นองค์ประกอบ โครงสร้างของข้อสอบ NETSAT ข้อสอบ NETSAT แบ่งออกเป็น 5
สรุป TCAS รอบโควตา สมัครยังไง? เหมาะกับใครบ้าง?
TCAS รอบโควตา เป็นรอบสำคัญของการคัดเลือกเข้ามหาลัยฯที่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์สามารถสมัครเข้าเรียนได้จากเกณฑ์ที่ตรงตามความสามารถของนักเรียน มาดูรายละเอียดเกี่ยวกับรอบโควตากัน รอบโควตาต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? การสมัคร TCAS รอบโควตา อาจต้องใช้เอกสารที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เอกสารหลักที่ต้องเตรียม ได้แก่: สำเนาบัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน ใบแสดงผลการเรียน (ปพ.1) Portfolio (บางคณะ/มหาวิทยาลัยกำหนด) ผลคะแนนสอบ เช่น TGAT/TPAT, A-Level ,NETSAT ,CU-TEP, TU-GET,
มาแล้วสรุป 4 ข้อมูลดีๆ TPAT1 กสพท วิชาความถนัดแพทย์ จากพี่เฟรนด์ออนดีมานด์
ปิดเทอมนี้สำหรับน้องๆ ที่อยากเตรียมตัวเป็นหมอ ต้องพร้อม วางแผนสอบให้เป๊ะ! สำหรับ วิชา กสพท TPAT1 ความถนัดแพทย์ เนื่องจากมีน้องๆ ยื่นสมัคร คณะแพทย์ศาสตร์ หลักหมื่น แต่รับแค่หลักพันเท่านั้น เตรียมพร้อมก่อนใคร ปิดเทอมนี้อย่างน้อยต้องเก็บได้ 2 วิชา เตรียมก่อนได้เปรียบ เหลือเวลาอีกแค่ 9 เดือน อย่าชะล่าใจแน่ใจมั้ยว่าเก็บทัน? พี่เฟรนเลยมีคำแนะนำดีๆสำหรับ วิชา TPAT1