
เข้าสู่คณะแพทยศาสตร์ เรียนอะไรกันบ้าง
เรียนปี 1 ปรับพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ม.ปลาย
จะเน้นวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (ที่ใช้ในการแพทย์) เป็นหลัก ซึ่งคือการเรียนปรับพื้นฐานโดยใช้ความรู้จาก ม.ปลายนั่นเอง
เรียนปี 2 ก้าวสู่การเป็นแพทย์
เรียนรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของแพทย์เพิ่มขึ้น โดยเรียนเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายและระบบการทำงานของร่างกายอย่างละเอียด เช่น ระบบประสาท ระบบเลือด ฯลฯ นอกจากนี้ยังเรียน วิชาทางกายวิภาค สรีรวิทยา พันธุศาสตร์ เป็นต้น และยังได้พบกับอาจารย์ใหญ่และคำปฏิญาณด้วย
เรียนปี 3 เรียนร่างกาย
หลักภูมิคุ้มกัน , ปรสิตวิทยา, พยาธิทั่วไป, เวชศาสตร์ชุมชนฯ และยาขั้นพื้นฐาน ในเภสัชวิทยา
เรียนปี 4 ก้าวแรกสู่คลินิก
เป็นปีแรกที่ก้าวเข้าสู่ชั้นคลีนิก เรียนรู้และทดลองดูแลคนไข้จริงที่โรงพยาบาล ซึ่งจะได้วนไปตามวอร์ดต่างๆ จนครบ จะเป็นปีที่สนุก ต้องตื่นเช้าและนอนดึก เป็นปีที่ไม่มีเวลา เพราะจะเรียนหนักมากเช่นกัน
เรียนปี 5 หนักหน่วงเพื่อแพทย์
ในการเรียนของปีที่ 5 จะมีรูปแบบคล้ายปีที่ 4 คือแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย และวนไปตามวอร์ดต่างๆ ตลอดทั้งปี แต่จะเป็นวอร์ดที่ไม่เคยเจอในปี 4 เช่น แผนกจิตเวช, แผนกนิติเวช เป็นต้น
เรียนปี 6 Extern
ปีสุดท้าย ความฝันอยากเป็นหมอใกล้เป็นจริง จะได้ทำงานจริงเหมือนแพทย์ตามโรงพยาบาล ตรวจคนไข้รักษา เย็บแผลเอง ทำคลองเอง ทำการผ่าตัดเล็กๆ เรียกว่าได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด และยังได้ไปฝึกที่โรงพยาบาลต่างจังหวัดด้วย เมื่อสอบ ก็จะได้จบมาเป็นหมอแล้ว
ทั้งนี้หลังจากเรียนจบ มาแล้ว ก็ยังมีการเรียนเฉพาะเจาะลึกของแต่ละด้าน ตามระดับ ซึ่งจะถูกเรียกแตกต่างกัน
แพทย์ใช้ทุน (อินเทริ์น , Intern)
โดยทั่วไปการ intern นี้กินเวลา 3 ปี แต่บางคนอาจจะออกมาก่อน Intern ก็คือหมอที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตร์ 6 ปี โดยนักศึกษาแพทย์คนไหนที่เรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐต้องไปเป็นคุณหมอใช้ทุนที่โรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลทั่วไปเพื่อเพิ่มทักษะและประสบการณ์
แพทย์ประจำบ้าน (เรสซิเด้นท์ , Resident)
คือแพทย์ที่เรียนจบแล้ว และตัดสินใจกลับมาเรียนต่อในสาขาที่ตนสนใจ หรือเรียกง่ายๆว่ามาเรียนต่อเฉพาะทางนั่นเองครับ
แพทย์ประจำบ้านต่อยอด (เฟลโล่ชิป , Fellowship)
คือแพทย์ประจำบ้านที่จบการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่ในสาขานั้นๆยังคงมีเจาะลึกลงไปอีก เช่น สาขาอายุรศาสตร์ มีสาขาต่อยอดขึ้นไปอีก เช่น อายุรศาสตร์โรคหัวใจ อายุรศาสตร์โรคทางเดินอาหารเป็นต้น
สตาฟ หรือ staff คือเเพทย์ผู้ที่จบ เฉพาะทางหรือ เฉพาะทางต่อยอดเเละทำงานในโรงพยาบาลต่างๆ