วิศวะ

วิศวโยธา เรียนอะไร ? จริงมั้ยที่เรียนแค่สร้างตึก ?

วิศวะ

“เรียนวิศวโยธา จบมาก็ต้องสร้างตึกไง 🏬⚙️” ใจเย็นก่อน สาขานี้ไม่ได้มีแค่นั้น…

แท้จริงแล้ว คณะวิศวกรรมโยธาเขาเรียนกันกว้างกว่านั้นมาก มีหลายสาขาแยกย่อยอันนำไปสู่อาชีพที่หลากหลาย แต่จะมีสาขาอะไรบ้าง จบไปเป็นอะไรบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้เลยจ้า

วิศวะ

วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) เป็นศาสตร์หนึ่งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งทักษะการออกแบบ การก่อสร้าง รวมถึงการบำรุงรักษา สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา 🔨🔧 ไม่ว่าจะเป็นตึก อาคาร สะพาน ถนน ระบบขนส่ง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ วิศวกรรมโยธายังต้องศึกษาการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ อีกทั้งยังต้องเรียนรู้การบริหารจัดการวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงสุด

โดยวิศวกรรมโยธา แยกเป็นสาขาย่อยราว 8 สาขา ดังนี้

วิศวะ

1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)

ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณสิ่งก่อสร้างชนิดต่างๆ โดยเน้นไปทางงานออกแบบ วิเคราะห์ รวมถึงการคำนวณโครงสร้างและแรงต้านทานของวัสดุ ⚙️🔩 เพื่อคัดเลือกประเภทและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ พูดง่ายๆ ว่า นี่คือสาขาย่อยที่น้องๆ จะได้สร้างตึก เขื่อน อาคาร หรือสะพานนั่นเอง

2. วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)

ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นไปที่ระบบการสร้างอาคาร ตั้งแต่การวางแผน ประเมินราคาค่าก่อสร้าง และในบางมหาวิทยาลัยจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายในอาคารด้วย เรียกว่า รู้แทบทุกซอกมุมของการสร้างอาคารเลยทีเดียว

วิศวะ

3. วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)

เรียนรู้อย่างละเอียดเกี่ยวกับการวางผังจราจร 🔧🚧 เรียนรู้ประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน นอกจากนี้ ยังศึกษาไปถึงวัสดุและกรรมวิธีในการสร้างและปรับปรุงถนนด้วย รับรองว่าได้รู้เรื่องคอนกรีต ยางมะตอย หรือวัสดุอีกนับสิบ จบสาขานี้ ไม่จำเป็นต้องสร้างตึกอย่างเดียวนะ

4. วิศวกรรมเทคนิคธรณี (Geotechnical engineering)

ใครเรียนสาขานี้จะได้รู้คุณสมบัติและวิศวกรรมของดิน เพื่อนำมาวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา เพราะในการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ย่อมมีดินเป็นพื้นฐานสำคัญทั้งสิ้น

วิศวะ

5. วิศวกรรมธรณี (Geological engineering)

ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อออกแบบและแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่

6. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)

ฝึกฝนค้นคว้าด้านการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ เรียนรู้หลักในการปรับปรุงคุณภาพของของเสียและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 🌎🌎 เพื่อให้การก่อสร้างต่างๆ รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็ตมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เรียกว่า จบไปน้องจะเป็นคนสำคัญของมนุษยชาติ

วิศวะ

7. วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (Water Resource engineering)

ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ระบบการระบายน้ำ และปริมาณน้ำฝน 💦💧 รวมทั้งการก่อสร้างคูคลอง และแม่น้ำ เป็นอีกหลักฐานว่า วิศวโยธา ไม่ได้สร้างแค่ตึกนะทุกคน

8. วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)

สาขาย่อยสุดท้ายที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ เรียนรู้การทำงานทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้านจีพีเอส (GPS) และภูมิสารสนเทศ (GIS)

ได้รู้จักคณะวิศวกรรมโยธาแล้ว น้องๆ ก็สามารถเตรียมความพร้อมจากที่บ้านผ่าน Learn Anywhere กันได้เลย วางแผนการเรียนทางนี้คร้าบ 

📌 แผนการเรียนวิศวะที่แนะนำ

ถ้าใครไม่ชอบเรียนพิเศษเยอะๆ พี่ขอแนะนำงาน Way to your GEAR ⚙️ เคลียร์ให้ครบ ติวจบทุกเรื่องวิศวะ งานจัดวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 – 17.00 น. โดยเปิดติวทางออนไลน์ผ่านระบบ https://event.ondemand.in.th/

รับจำนวนจำกัด ซื้อบัตรก่อนเต็ม!!

อย่าลืมกด LIKE 👍 Facebook Fanpage ของ ออนดีมานด์ OnDemand สถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ เพื่อไม่ให้พลาด สาระดีๆ ข่าวสาร และสิทธิพิเศษ นะคร้าบบ