วิศวะคอม หรือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นสาขาที่มีคะแนนสอบเข้าสูงที่สุดในบรรดาคณะวิศวกรรมของหลายมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว เมื่อพวกเราต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการใช้ชีวิตกันมากขึ้น สายงานด้านนี้จึงเป็นที่ต้องการในตลาดมาก และมีแนวโน้มจะมากขึ้นในปีที่จะถึงนี้ด้วยนะ!
จบ วิศวะคอม สามารถไปทำงานอะไรได้บ้าง พี่ๆ ออนดีมานด์จะพามาดู!
นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Developer)
ไม่ว่าจะเป็นสาย นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer) , นักพัฒนาแอปพลิเคชัน (Application Developer) หรือสาย นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) ต่างก็เป็นผู้พัฒนาที่มีหน้าที่หลักในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้เว็บไซต์, แอปพลิเคชัน หรือซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผล และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน
และในแต่ละสายงาน ก็อาจจะมีหน้าที่ที่แบ่งย่อยลงไปอีก เช่น งานด้าน Website ก็จะมี นักพัฒนาส่วนหน้าบ้าน (Frontend Developer) ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา UX/UI* ให้เป็นไปตาม Design ที่ UX/UI Designer ได้ออกแบบไว้และเป็นการจัดการรับข้อมูลจาก Frontend เพื่อมาแสดงผลให้กับผู้ใช้งาน หรือรับข้อมูลจากผู้ใช้งาน
*UX หรือ User Experience: ส่วนที่ผู้ใช้งานจะได้เห็นและมีประสบการณ์ในการใช้งาน
*UI หรือ User Interface: ส่วนที่ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้
หลังจากนั้นจึงส่งไปให้ทาง นักพัฒนาระบบหลังบ้าน (Backend Developer) จัดการประมวลผลและเก็บข้อมูลใน Database งานของ Backend Developer ที่จะเกี่ยวข้องกับระบบหลังบ้าน หรือการจัดการกับข้อมูล ที่ได้รับจาก Frontend และการส่งข้อมูลให้ทาง Frontend นำไปแสดงผล
โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
Programmer กับ Developer ตำแหน่งที่เหมือนจะเป็นร่างเดียวกัน ใช้ทักษะในการทำงานแบบเดียวกันแทบทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้วมีความต่าง คือ Developer จะต้องใช้ทักษะในการสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ หรือพัฒนาโปรแกรมใหม่ขึ้นมา ขณะที่ Programmer จะทำงานตามหน้าที่ที่ถูกกำหนดมาให้แล้ว ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าจะมีคนที่ทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์อิสระเป็นจำนวนมากนั่นเอง
นักทดสอบผลิตภัณฑ์ (Software Tester)
คนส่วนน้อยนักที่จะรู้จักอาชีพนี้ แต่ผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เทสเตอร์ เป็นอาชีพที่สำคัญมากที่จะช่วยตรวจดูความลื่นไหลและความผิดปกติของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น แอปพลิเคชัน หรือ เว็บไซต์ ช่วยประเมินและส่งกลับไปให้โปรแกรมเมอร์แก้ไขก่อนจะไปถึงมือของผู้เกี่ยวข้องส่วนต่าง ๆ ต่อไป
นักพัฒนาบล็อกเชน (Blockchain Developer)
ปัจจุบันเริ่มมีมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในประเทศกำลังจะเปิดสาขาวิชาเกี่ยวกับบล็อกเชนแล้ว เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (TSE)