ลักษณะข้อสอบ สสวท. ปี 65 จะเป็นอย่างไร?

สำหรับ สสวท. ปี 65 จะมีการทดลองสอบในวันที่ 26 ก.พ. 2565 และสอบจริงรอบแรก วันที่ 5 มี.ค. 2565 เพื่อการเตรียมตัวที่ดี มาดูกันดีกว่า ลักษณะข้อสอบ สสวท. ปี 65 จะเป็นแบบไหน? มีกี่ข้อ? มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?! 1. วิชาคณิตศาสตร์ 1.1 แบบทดสอบเป็นแบบเติมคำตอบ จำนวน 25 ข้อ และใช้เวลาสอบ 120 นาที 1.2 กรอบการประเมิน เน้นการใช้ข้อมูล สถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและหาคำตอบ โดยมีองค์ประกอบดังนี้ 1.2.1 ด้านเนื้อหา เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 1.2.2 ด้านตัวชี้วัดอัจฉริยะลักษณะทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ทักษะการแก้ปัญหา […]
สสวท. ปี65 สรุปกำหนดการสอบแบบละเอียดยิบ!

สำหรับน้องๆ ชั้น ป.6 ที่วางแผนสอบเข้า ม.1 ในโรงเรียนที่เน้นด้านคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็คงต้องไม่พลาดการสอบ สสวท. เพื่อนำคะแนนไปยื่นเข้าตามโรงเรียนที่มั่นมายใจไว้ ซึ่งสำหรับปี 65 นี้ ทาง สสวท.มาในรูปการสอบออนไลน์! มีการทดลองสอบและรอบการแก้ไขข้อมูลต่างๆ ดังนั้นเพื่อการเตรียมตัวที่ดีของน้องๆ เรามาดูกำหนดการต่างๆ ของการสอบ สสวท. ปี 65 นี้แบบละเอียดๆ กัน! ลงทะเบียนและสมัครสอบออนไลน์ วันอังคารที่ 4 ถึง วันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2565 ช่องทาง https://genius.ipst.ac.th/ ชำระเงิน วันอังคารที่ 4 มกราคม ถึง วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 แก้ไขข้อมูลผู้สมัครสอบ (ข้อมูลส่วนตัว ชื่อโรงเรียน วิชาที่สอบ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา การเลือกโรงเรียนที่จะศึกษาต่อ) วันอังคารที่ 4 มกราคม ถึง วันศุกร์ที่ 4 […]
ทำไมเด็กๆ ควรสอบ สสวท. ?

“สสวท.” คืออะไร คำว่า สสวท.อาจะเป็นคำย่อที่หลายๆ คนคงเคยแอบได้ยินคำนี้ สสวท.คืออะไร ความหมายที่ชัดเจนนั้น ย่อมาจากอะไร แล้วทำไมเด็กๆ จึงควรสอบ สสวท.มาทำความรู้จักกัน สสวท. หรือ IPST คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนทุก ๆ ระดับชั้น ที่มีพรสวรรค์และความสามารถด้านวิชาวิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ดังนั้น เพื่อการตามหาเด็กที่มีความสามารถ และดึงศักยภาพในวิชาดังกล่าวออกมาใช้ต่อยอด จึงได้มีการจัดการทดสอบในโครงการต่าง ๆ ขึ้น เช่น “โครงการโอลิมปิกวิชาการ” เพื่อคัดเลือกนักเรียนระดับมัธยมเป็นตัวแทนในการแข่งขันวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับนานาชาติ, “โครงการ PISA” ที่ประเมินสมรรถนะของนักเรียนวัย 15 ปี โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น และรวมไปถึง “โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์” โดย สสวท. ซึ่งคัดเลือก และประเมินความสามารถของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา โครงการดังกล่าว สามารถกระตุ้นให้นักเรียนสนใจและกระตือรือร้น ในการเรียนวิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี นอกจากนั้น การคัดเลือก ไม่ได้คัดเลือกเด็ก ๆ ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงเท่านั้น แต่มองหาเด็ก […]