เครียดสอบ

เครียดสอบ ทำไงดี? วิธีจัดการความเครียดช่วงใกล้สอบ ที่นักจิตวิทยาแนะนำ

เครียดสอบ

“อยากไปให้พ้นจากตรงนี้ อยากให้ชีวิตไม่ต้องเครียดแบบนี้อีก”

ตอนนี้น้อง ๆ คนไหนกำลังมีความแบบนี้ต่อชีวิตการศึกษาของตัวเองอยู่บ้างครับ นี่นับเป็นหนึ่งสัญญาณที่จิตใจของเรากำลังฟ้องว่า…เราเริ่มเหนื่อยและ เครียดสอบ กับการเรียนมากไปแล้วนะ

ไม่ว่าจะอายุเท่าไรคนเราก็ล้วนมีความเครียดได้ทั้งนั้น สิ่งสำคัญคือคนรอบข้างควรจะมองเห็นปัญหาของเด็กให้ใหญ่เท่าเทียมกันกับของผู้ใหญ่ อย่าได้มองว่าเป็น “เรื่องแค่นี้” “เรื่องเด็ก ๆ จะไปเครียดทำไม” เพราะคนต่างช่วงวัย อย่างไรก็มีความสามารถในการจัดการกับความเครียดได้ไม่เท่ากัน

ความเครียดจากการเรียน (Academic stress)

เกิดขึ้นได้จากความวิตกกังวลที่มีต่อเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ไม่ว่าจะเป็น การสอบ การบ้านที่ต้องส่งในแต่ละวิชา ระบบการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการวางแผนการเรียนเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ‘การสอบตก’ จะทำให้เด็กรู้สึกว่าเข้ากับกลุ่มเพื่อนที่เรียนดีกว่าได้ยาก มีแนวโน้มไม่อยากมีส่วนร่วม หนีปัญหา ไม่มั่นใจในตัวเอง ยิ่งใกล้สอบก็จะยิ่งกดดัน ยิ่งไปกว่านั้นถ้าการสอบที่ใกล้เข้ามาเป็นสิ่งจะสามารถกำหนดชะตาชีวิตข้างหน้าได้ อาทิ การสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ระบบ TCAS) จะทำให้เกิดความเครียดสะสมได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะน้อง ๆ ไม่ได้แบกแค่ความหวังของตัวเอง แต่กำลังแบกความหวังของพ่อแม่ ของครอบครัว และคนรอบข้างเอาไว้บนบ่าเล็ก ๆ ที่บางครั้งก็ไม่แข็งแรงพอจะรองรับความกดดันอันมากมายได้

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความเครียด กระบวนที่ตามมา คือ การจัดการกับความเครียด (Coping) ตามหลักจิตวิทยา แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 

การจัดการแบบเผชิญหน้ากับปัญหา (Approach coping)

วิธีจัดการความเครียดรูปแบบนี้ คือ การวิเคราะห์เหตุและผลของปัญหาเพื่อเตรียมตัวรับมือกับผลที่จะเกิดขึ้น หรือแม้แต่พยายามที่จะปรับมุมมองที่มีต่อปัญหาเพื่อให้เห็นผลดีจากปัญหาที่เกิดขึ้น รวมไปถึงหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา 

เช่น เมื่อทำข้อสอบไม่ได้ น้อง ๆ จะวิเคราะห์ว่า เพราะอะไรถึงทำข้อสอบไม่ได้ ผลสอบที่ได้น่าจะเป็นอย่างไร (การวิเคราะห์ปัญหา) การทำข้อสอบไม่ได้ครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง (การเปลี่ยนมุมมอง) การสอบครั้งหน้าควรจะเตรียมตัวอย่างไร (การหาข้อมูลเพิ่มเติม)

ถ้าเราจัดการแบบเผชิญหน้าจะช่วยลดปัญหาทางอารมณ์ได้ เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้า รวมไปถึงปัญหาทางด้านพฤติกรรม เช่น การใช้ความรุนแรง

จัดการแบบหลีกเลี่ยงปัญหา (Avoidance coping)

แนวทางจัดการความเครียดลักษณะนี้จะเกิดจากอารมณ์เป็นส่วนใหญ่ ความเครียดทำให้เลือก “หลีกเลี่ยงที่จะคิดถึงปัญหานั้น” หรืออาจจะยอมรับว่ามีปัญหาโดยไม่ได้พยายามที่จะแก้ไข และพยายามทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง บางครั้งอาจมีการแสดงออกถึงอารมณ์ทางลบเพื่อลดความเครียด เช่น บ่น ร้องไห้

ในเหตุการณ์ ทำข้อสอบไม่ได้ เหมือนกัน หากใช้การจัดการแบบหลีกเลี่ยงปัญหา สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ น้องจะไม่พูดถึงผลการสอบเลย (การหลีกเลี่ยง) หรืออาจจะมีคำพูด เช่น “ครั้งนี้ก็ทำไม่ได้ ครั้งหน้าก็อาจจะทำได้ก็ได้” (การยอมรับ) “ช่างมัน ไปเล่นเกมกันเถอะ” (การทำกิจกรรมอื่น ๆ) “อาจารย์ออกข้อสอบอะไรก็ไม่รู้ ยากเเกิน ทำไม่ทัน” (การแสดงออก)

หากน้อง ๆ ใช้การจัดการแบบหลีกเลี่ยงปัญหา จะมีผลดีต่อจิตใจในระยะสั้น แต่ทำให้มีปัญหาในการกำกับอารมณ์ทางลบ เช่น ซึมเศร้า ท้อแท้ ผิดหวังในตัวเอง เนื่องจากปัญหาเหล่านั้นไม่ถูกแก้ที่ต้นเหตุ และสะสมกลายเป็นทัศนคติที่ไม่ดีต่อตัวเอง รวมถึงสิ่งรอบตัวในระยะยาว รวมถึงมีแนวโน้มว่าจะระบายอารมณ์ทางลบออกได้อย่างไม่เหมาะสม เช่น การทำร้ายตัวเอง หรือ การใช้ความรุนแรง

ควรทำอย่างไร...เราจึงจะสามารถเผชิญหน้ากับปัญหาได้???

  • 1. วิเคราะห์และตระหนักรู้ในอารมณ์ของตัวเอง

ลองถามตัวเองดูว่าเรากำลังรู้สึกอะไร กังวลกลัวทำข้อสอบไม่ได้ กลัวกับผลการสอบที่อาจจะไม่เป็นไปตามที่หวังรึเปล่า แล้วลองถามต่อว่า ความคาดหวังนั้นเป็นความคาดหวังจากไหน เพื่อใคร บางทีเราคาดหวังว่าเราจะต้องทำให้ได้ดีที่สุด แต่คำว่าดีที่สุดนั้น ไม่ได้ดีที่สุดตามความเป็นจริงในเงื่อนไขระยะเวลาเตรียมตัวที่มีจำกัดของเรา แต่ต้องดีที่สุดในสายตาของผู้ปกครองหรือครู การแบกรับความคาดหวังของผู้อื่นจะเพิ่มความเครียดให้เราไม่มีสิ้นสุด และทำให้เราไม่สามารถยอมรับตัวเอง หรือ ผลลัพธ์ไม่ดีที่จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเรารู้ที่มาของความรู้สึกเหล่านั้น เราก็จะรู้สาเหตุที่เกิดความเครียด นำไปปรับใช้ในขั้นต่อไป

  • 2. ปรับมุมมองต่อปัญหา กลับมาโฟกัสที่ตัวเอง

ทุกครั้งที่เครียด อยากให้น้อง ๆ ตระหนักรู้ไว้เสมอว่า สาเหตุของความเครียด หรือ ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ เป็นภาวะเพียงชั่วคราวเท่านั้น วันหนึ่งมันจะผ่านไป ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้เสมอ โดยที่เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลยนอกจาก “ตัวเราเอง” 

ดังนั้นพยายามดึงสติกลับมาอยู่กับสิ่งที่เราทำเองได้ในตอนนี้ และพยายามทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด เช่น การเตรียมตัวอ่านหนังสือ กำหนดตารางเวลาในชีวิตประจำวันเพื่อให้มีเวลาทบทวนเนื้อหาที่เรียน เวลาพักผ่อนและเวลาดูแลตนเอง วางแผนกำหนดระยะเวลาที่จะใช้เพื่อทบทวนแต่ละบทเรียนให้ทันก่อนสอบ การสร้างตารางที่ชัดเจนให้กับชีวิตประจำวันของเราจะช่วยให้เรารู้สึกว่าเรายังสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตตัวเองได้

บางครั้งเรามักจะจินตนาการถึงผลลัพธ์ในทางลบ จนทำให้เกิดความเครียดเพราะคิดไปล่วงหน้ากับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เช่น ถ้าสอบไม่ติดคณะ หรือมหาวิทยาลัยที่ต้องการ จะไม่ได้ทำงานที่อยากทำ และไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ในความเป็นจริงนั้น อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การเครียดไปล่วงหน้าไม่มีประโยชน์เลย

  • 3. เมตตาตัวเอง ให้รางวัลตัวเองบ้าง

ลองเปรียบตัวเราเป็นนักวิ่ง เมื่อเริ่มวิ่งแรก ๆ ก็จะมีไฟวิ่งได้ดี แต่พอวิ่งนานแล้วยังไม่เข้าใกล้เป้าหมายสักที เราคงทั้งเหนื่อยและท้อ ยิ่งถ้าระหว่างทางว่างเปล่า ไม่มีจุดพัก ไม่มีใครคอยส่งน้ำ มีเพียงน้องอยู่กับความกดดันและความเครียดลำพัง มันจะน่าเศร้าสักแค่ไหน…

จะดีไหมถ้าเราลองมองความสำเร็จเป็นจุดเล็กลงแต่ถี่ขึ้น เช่น สัปดาห์นี้อ่านได้ตามเป้าหรือเกินเป้า ใจดีกับตัวเองบ้าง ให้รางวัลตัวเองบ้าง ลดความคาดหวังต่อตัวเองลงสักหน่อย (แต่ไม่ลดความพยายามนะ) มันจะเป็นเหมือนจุดแวะพักเติมกำลังใจให้เราฮึดสู้ให้ไปถึงเป้าหมายได้ดีขึ้น การคิดกังวลไปข้างหน้าในเชิงลบไม่ใช่เรื่องดีเลยสำหรับกำลังใจในการอ่านหนังสือ การดูการ์ตูน เล่นเกม ก็ไม่ใช่เรื่องผิด เราใช้สิ่งเหล่านี้เป็นรางวัลเมื่อเราทำภารกิจเล็ก ๆ สำเร็จได้

เพียงแต่น้อง ๆ ต้องกำหนดตารางและขอบเขตเวลาให้กับตนเองที่ชัดเจน เช่น เราจะให้เวลาตนเองในการพักผ่อน ทำกิจกรรมที่เราชอบประมาณหนึ่งหรือสองชั่วโมงหลังจากเราทบทวนเนื้อหาในบทนี้จบ การให้รางวัลกับตนเองจะช่วยผลักดันให้เราไปต่อได้

นายแพทย์ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์และนักเขียน เคยเผยแพร่ความคิดเห็นลงใน Facebook ส่วนตัว เกี่ยวกับน้อง ๆ ที่กำลังเครียดกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ใจความว่า 

“คนเราจะผ่านด่านความเครียดเป็นขั้น ๆ อยู่แล้วในแต่ละช่วงชีวิต ความเครียด ความคาดหวัง ถือไว้สร้างแรงผลักดันได้แต่อย่านานเกิน นาน ๆ มันหนัก วางลงบ้างก็ได้ ตัวเราก็เพิ่งอายุเท่านี้เอง…”

น้องๆ คนไหนที่กำลัง เครียดสอบ เครียดกับการเรียน เครียดกับปัญหาที่กำลังเจออยู่  พี่ๆ ออนดีมานด์ เป็นกำลังใจให้เสมอนะ 💓

อย่าลืมกด LIKE 👍 Facebook Fanpage ของ ออนดีมานด์ ความถนัดแพทย์ ออนดีมานด์ เพื่อไม่ให้พลาด สาระดีๆ ข่าวสาร และสิทธิพิเศษ นะคร้าบบ

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
ชั่วโมง
นาที

ดีลดี ดีลเดียวก่อนหมดวันแห่งความรัก สมัครเลย

วันนี้เท่านั้น! รับ ID Book ฟรีทันที

ที่สาขาออนดีมานด์

พี่ออนดี้ส่งโมเมนต์สุดพิเศษให้น้อง

ต้อนรับวันวาเลนไทน์

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

พบกับข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
ส่วนลดสูงสุด 500 บาท
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !

นับถอยหลังก่อนสอบเข้าเตรียมอุดม (9 มี.ค. 67)

Days
3 ชม สุดท้ายแล้วสมัครคอร์เลย
ส่วนลดสูงสุด 1,000 บาท
รับฟรี! ชุดแนวข้อสอบ TPAT3
วันสุดท้ายแล้ว
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
โปรสุดท้าย NETSAT
เพื่อน้องมข. อีก 14 วันก่อนสอบ
โปรสุดท้าย เพื่อน้อง TU
อีก 1 เดือน ก่อนสอบ
ด่วน LIVEติว เลข โค้งสุดท้าย
ก่อนสอบเตรียมอุดมฯ