สรุปเนื้อหา พืช (เนื้อเยื่อพืช การลำเลียงสารฯ) ม.1

💡 พืช (เนื้อเยื่อพืช การลำเลียงสารฯ) ชีววิทยา ม.ต้น ม.1 เทอม 1

🕑 00:00 โครงสร้างของดอก
🕑 14:32 ประเภทของดอก
🕑 26:04 ตัวอย่างโจทย์
🎁 สำหรับลูกค้าใหม่ เรียนกับออนดีมานด์ ได้มากกว่า
🔖 มากกว่าด้วย Welcome Pack รับส่วนลดทันที 300 บาท เพียงกรอกโค้ด : NEW300

🖋️ คอร์ส 2133 พืช (เนื้อเยื่อพืช การลำเลียงสารฯ)
✨ โปรโมชั่นสุดพิเศษนี้ มีถึงวันที่ 31 พฤษภาคมนี้เท่านั้น
🩺 สรุปเรื่อง เนื้อเยื่อพืช การลำเลียงสารฯ
💉 สอนโดย พี่วิเวียน ออนดีมานด์
💉 นพ.วีรวัช เอนกจำนงค์พร
🏆 แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
🏆 คะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 สอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
🏆 คะแนนสูงสุดอันดับ 1 วิชาชีววิทยา ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
⛑️ เทคนิค “Bio Map” ตัวช่วยให้น้องๆ เข้าใจ และจัดลำดับความคิดได้อย่างเป็นระบบ
⛑️ เข้าใจพื้นฐานแน่น เพื่อทำโจทย์ได้ทุกแนว ทุกสนามสอบ

#การลําเลียงของพืชสรุป #เนื้อเยื่อผิว #ขนรากดูดซึมแร่ธาตุเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีการใด #เนื้อเยื่อพืชสรุป #โฟลเอ็มทําหน้าที่ #หน้าที่ของxylemและphloem #เนื้อเยื่อที่พบมากที่สุดในพืชคือ #ไซเลมโฟลเอ็ม

โครงสร้างของดอก

ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 4 ส่วน โดยเรียงลำดับจากวงนอกสุดเข้าสู่ด้านในได้แก่ ชั้นกลีบเลี้ยง (calyx) ชั้นกลีบดอก (corolla) ชั้นเกสรเพศผู้ (stamen) และชั้นเกสรเพศเมีย (pistil) ซึ่งแต่ละส่วนนั้นมีโครงสร้างและการทำงานที่แตกต่างกัน
  1. ชั้นกลีบเลี้ยง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง (sepal) ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นสีเขียว ภายในมีคลอโรพลาสต์ (chloroplast) สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ โดยกลีบเลี้ยงมีหน้าที่ในการห่อหุ้ม ปกป้องดอกขณะตูม
  2. ชั้นกลีบดอก ประกอบด้วยกลีบดอก (petal) มักมีสีสดใสเพราะมีรงควัตถุต่าง ๆ เช่น แคโรทีนอยด์ แอนโทไซยานิน ดอกของพืชบางชนิดจะมีต่อมน้ำหวานหรือต่อมกลิ่น ซึ่งใช้ดึงดูดให้แมลงเข้ามาผสมเกสร
  3. ชั้นเกสรเพศผู้ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ อับเรณู (anther) และก้านชูอับเรณู (filament)โดยภายในอับเรณูจะมีการสร้าง microspore และพัฒนาไปเป็นเรณู (pollen) ซึ่งเรณูจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (sperm) เมื่อไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย
  4. ชั้นเกสรเพศเมีย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ยอดเกสรเพศเมีย (stigma) ก้านเกสรเพศเมีย (style) และรังไข่ (ovary) ที่มีออวุล (ovule) อยู่ภายใน รังไข่ทำหน้าที่ยึดส่วนของเกสรเพศเมียให้ติดกับฐานรองดอก (receptacle) ในออวุลมีการสร้าง megaspore จะพัฒนาไปเป็นถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (egg) และเป็นตำแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิซ้อน (doubled-fertilization)
นอกจากนี้ดอกยังมีอีกหนึ่งส่วนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ นั่นคือ ฐานรองดอก ที่ทำหน้าที่รองรับดอกให้ดอกนั้นยึดติดอยู่กับก้านดอก (peduncle)
เมื่อพิจารณาโครงสร้างของดอก จะสามารถจำแนกประเภทของดอกได้ตามโครงสร้างหลักทั้ง 4 ส่วนของดอก ได้แก่  ดอกครบส่วนหรือดอกสมบูรณ์ (complete flower) และดอกไม่ครบส่วนหรือดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower) โดยดอกครบส่วน ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 4 ส่วน ครบถ้วน ขณะที่ดอกไม่ครบส่วนจะมีส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือมากกว่า 1 ส่วนที่หายไป
และสามารถแยกประเภทของดอกโดยใช้โครงสร้างชั้นเกสรเพศเป็นเกณฑ์ ได้แก่ ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) และดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) โดยดอกสมบูรณ์เพศจะมีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ส่วนดอกไม่สมบูรณ์เพศ ภายในหนึ่งดอกจะมีเพียงเกสรเพศใดเพศหนึ่ง มักแยกเป็นดอกเพศผู้ และดอกเพศเมีย ดอกไม่สมบูรณ์เพศจึงจัดเป็นดอกไม่ครบส่วนด้วย เช่นเดียวกับดอกครบส่วนที่จัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
 
เหลือเวลาอีก
ชั่วโมง
นาที
วินาที
ชั่วโมง
นาที

ดีลดี ดีลเดียวก่อนหมดวันแห่งความรัก สมัครเลย

วันนี้เท่านั้น! รับ ID Book ฟรีทันที

ที่สาขาออนดีมานด์

พี่ออนดี้ส่งโมเมนต์สุดพิเศษให้น้อง

ต้อนรับวันวาเลนไทน์

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

พบกับข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !

นับถอยหลังก่อนสอบเข้าเตรียมอุดม (9 มี.ค. 67)

Days
ส่วนลดสูงสุด 500 บาท
3 ชม สุดท้ายแล้วสมัครคอร์เลย
ส่วนลดสูงสุด 1,000 บาท
รับฟรี! ชุดแนวข้อสอบ TPAT3
วันสุดท้ายแล้ว
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
โปรสุดท้าย NETSAT
เพื่อน้องมข. อีก 14 วันก่อนสอบ
โปรสุดท้าย เพื่อน้อง TU
อีก 1 เดือน ก่อนสอบ
ด่วน LIVEติว เลข โค้งสุดท้าย
ก่อนสอบเตรียมอุดมฯ