สรุปเนื้อหา ประชากร ม.6

ประชากร ม.6 | ตัวอย่างคอร์สเรียน ชีววิทยา ม.ปลาย | OnDemand

รายละเอียดคอร์ส ชีววิทยา ม.ปลาย เนื้อหา ระบบนิเวศ วัฏจักรของสารและการเปลี่ยนแปลงแทนที่ สอนโดย พี่วิเวียน ออนดีมานด์ เข้าใจง่าย จำได้นาน ทำข้อสอบได้จริง มีเทคนิคช่วยจำ “Bio Map” เป็นตัวช่วย
– สอนเนื้อหาทุกเรื่องอย่างละเอียด
– สอนจับประเด็น คิดอย่างเป็นระบบ
– เนื้อหากระชับ ครบถ้วน ครอบคุลมสนามสอบแข่งขัน
– “Bio Map” จะเป็นตัวช่วยให้น้องๆ เข้าใจ และจัดลำดับความคิดได้อย่างเป็นระบบ
– “ตำราพูดได้” เพื่อให้น้องสามารถดูคลิปจากในหนังสือเรียน เพื่อช่วยให้น้องๆ เข้าใจได้ ภายใน 3 นาที

00:00:00 – 00:00:20 เนื้อหาเสริม
00:00:20 – 00:01:00 เกริ่นนำเรื่องการเติบโตของประชากรแบบลอจิสติก
00:01:00 – 00:17:06 การเติบโตของประชากรแบบลอจิสติก

รูปแบบการเพิ่มของประชากร

ประชากร (population) คือ สมาชิกทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ (species) เดียวกัน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันและในช่วงเวลาเดียวกัน 
คุณสมบัติของประชากรประกอบด้วย 
  1. ความหนาแน่นของประชากร
  2. การแพร่กระจายของประชากร
  3. ขนาดประชากร
  4. รูปแบบการเพิ่มของประชากร
  5. การรอดชีวิตของประชากร
  6. โครงสร้างของกลุ่มอายุของประชากร (ประชากรมนุษย์)
ประชากรของสิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีรูปแบบการสืบพันธุ์เพื่อเพิ่มประชากรอยู่ 2 รูปแบบ คือ แบบแรกเป็นการเพิ่มประชากร โดยที่สมาชิกของประชากรนั้นม การสืบพันธุ์เพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิต (single reproduction) สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ก็จะออกลูกออกหลานจากนั้นก็ตาย ตัวอย่างเช่น แมลงต่างๆ เช่น แมลงชีปะขาว ผีเสื้อ และตัวไหม เป็นต้น หรือไม้ล้มลุกบางชนิด เช่น คะน้า กวางตุ้ง ข้าว และถั่วเขียว เป็นต้น  แบบที่สองเป็นการเพิ่มประชากรโดยสมาชิกของประชากรนั้นมีโอกาสในการสืบพันธุ์ได้หลายครั้งในช่วงชีวิต (multiple reproduction) สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น สุนัข แมว มนุษย์ ไม้พุ่ม เช่น ชบา แก้ว เข็ม และไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ขนุน ส้ม ลำไย เป็นต้น
นักนิเวศวิทยาได้นำแบบแผนทางคณิตศาสตร์ที่อธิบายการเพิ่มของประชากรจากรูปแบบการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 แบบนั้น ซึ่งแบบแผนทางคณิตศาสตร์นี้ช่วยให้สามารถทำนายแนวโน้มของการเพิ่มของประชากรได้  แบบแผนการเพิ่มของประชากรมี 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียล

การเพิ่มจำนวนประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียล (exponential growth) หรือแบบทวีคูณนั้น พบได้ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์เพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิตในแต่ละรุ่น   ดังเช่นพวกแมลงต่างๆ เมื่อตัวเมียวางไข่แล้วก็ตาย การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียลจะได้กราฟเป็นรูปตัวเจ  (J shape) ซึ่งพบว่าการเพิ่มของประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียลมีระยะของการเปลี่ยนแปลงแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ
ระยะที่มีการเพิ่มของประชากรอย่างช้าๆ (exponential growth phase) เป็นระยะที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากในระยะที่มีการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วนี้   ดูเหมือนว่าประชากรจะเพิ่มอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีปัจจัยใดๆ มาขัดขวางการเจริญเติบโตได้ ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นภาวะเหตุการณ์ทางอุดมคติ (idealized  circumstances) และไม่เป็นจริง ทั้งนี้เพราะในธรรมชาตินั้นจะมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อม (environmental  resistance) ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย และความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่มายับยั้งไม่ให้การเพิ่มประชากรเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีขีดจำกัด ลักษณะดังกล่าวนี้สอดคล้องกับแนวคิดของทอมัส มัลทัส  (Thomas Malthus) ซึ่งกราฟที่เขียนจะคล้ายรูปตัวเจในระยะแรก และเมื่อถึงระยะหนึ่งการเพิ่มของประชากรก็จะลดลงอย่างรวดเร็วและมี การเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกัน  (irruptive  growth)

การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก

การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก  (logistic growth) เป็นการเพิ่มจำนวนประชากรที่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม หรือมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง   ตัวอย่างของการเพิ่มประชากรแบบนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มจำนวนของเซลล์ยีสต์ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ โดยมีการจำนวนเซลล์ยีสต์ทุกๆ 2 ชั่วโมง
การเพิ่มประชากรแบบลอจิสติกสามารถเขียนกราฟได้เป็นรูปตัวเอส (S- shape) หรือกราฟแบบซิกมอยด์ (singmoidal curve) ซึ่งแบ่งระยะต่างๆ ออกได้เป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ
  • ระยะที่ 1 : ชั่วโมงที่ 2-6 พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากประชากรเริ่มต้นยังมีจำนวนน้อย
  • ระยะที่ 2 : ชั่วโมงที่ 6-10 พบว่าอัตราเพิ่มประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากประชากรเริ่มต้น (ก่อนการแบ่งเซลล์เจริญเติบโต แพร่พันธุ์) มีจำนวนมาก
  • ระยะที่ 3 : ชั่วโมงที่ 10-14 พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรช้าลง เนื่องจากมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
  • ระยะที่ 4 : ชั่วโมงที่ 14-18 พบว่ามีอัตราเพิ่มประชากรค่อนข้างคงที่  เนื่องจากประชากรสามารถปรับตัวต่อต้านทานในสิ่งแวดล้อมได้ จึงมีอัตราเกิดเท่ากับอัตราตาย
ในการเพิ่มประชากรแบบลอจิสติกนี้ ตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมมีผลมากขึ้นต่อการเพิ่มประชากรในระยะที่ 3 และ 4 จึงทำให้มีขีดจำกัดที่ทำให้สภาพแวดล้อมนั้นสามารถเลี้ยงดูประชากรได้ ระดับที่สภาพแวดล้อมสามารถเลี้ยงดูประชากรได้มากที่สุดนี้เรียกว่าแครีอิงคาพาซิตี (carrying capacity)
เหลือเวลาอีก
ชั่วโมง
นาที
วินาที
ชั่วโมง
นาที

ดีลดี ดีลเดียวก่อนหมดวันแห่งความรัก สมัครเลย

วันนี้เท่านั้น! รับ ID Book ฟรีทันที

ที่สาขาออนดีมานด์

พี่ออนดี้ส่งโมเมนต์สุดพิเศษให้น้อง

ต้อนรับวันวาเลนไทน์

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

พบกับข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !

นับถอยหลังก่อนสอบเข้าเตรียมอุดม (9 มี.ค. 67)

Days
ส่วนลดสูงสุด 500 บาท
3 ชม สุดท้ายแล้วสมัครคอร์เลย
ส่วนลดสูงสุด 1,000 บาท
รับฟรี! ชุดแนวข้อสอบ TPAT3
วันสุดท้ายแล้ว
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
โปรสุดท้าย NETSAT
เพื่อน้องมข. อีก 14 วันก่อนสอบ
โปรสุดท้าย เพื่อน้อง TU
อีก 1 เดือน ก่อนสอบ
ด่วน LIVEติว เลข โค้งสุดท้าย
ก่อนสอบเตรียมอุดมฯ