สรุปเนื้อหา ความหลากหลายทางชีวภาพ ม.3

ความหลากหลายทางชีวภาพ ม.3 | ตัวอย่างคอร์สเรียน ชีววิทยา ม.ต้น | OnDemand

รายละเอียดคอร์ส ชีววิทยา ม.ต้น เนื้อหา ระบบนิเวศและประชากร สอนโดย พี่วิเวียน ออนดีมานด์ จัดลำดับความคิด ตั้งแต่จุดเริ่มต้น มีเทคนิคช่วยจำ “Bio Map” เป็นตัวช่วย – สอนเนื้อหาทุกเรื่องอย่างละเอียด – สอนจับประเด็น คิดอย่างเป็นระบบ – เนื้อหากระชับ ครบถ้วน ครอบคุลมการสอบทุกสนาม

00:00:00 – 00:00:20 เนื้อหาเสริม
00:00:20 – 00:10:01 อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
00:10:01 – 00:12:58 อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)

    พืชให้ประโยชน์กับมนุษย์อย่างมากมายนับตั้งแต่ให้อากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ ให้เงาอันร่มเย็น เป็นตัวทำให้เกิดต้นน้ำลำธาร เป็นอาหาร เป็นเครื่องนุ่งห่ม เป็นยารักษาโรค ฯลฯ แต่พืชบางชนิดก็ให้โทษ เช่น แย่งอากาศหายใจในตอนกลางคืน บางชนิดจับแมลงกินเป็นอาหาร บางชนิดเป็นยาเสพติด สภาพแวดล้อมที่พืชขึ้นแตกต่างกันมากมาย ปัจจุบันรู้จักพืชประมาณ 300,000 สปีชีส์ ซึ่งรวมทั้งพืชน้ำ พืชบก เป็นต้น

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช

  • -เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular) ที่รวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)
  • -มีเซลล์แบบยูคาริโอต (eukaryote) ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเช่นเดียวกับเซลล์ของสัตว์
  • -มีผนังเซลล์ที่ประกอบด้วยเซลลูโลส (cellulose) ซึ่งทำให้เซลล์แข็งแรงทนทานและมีรูปร่างแน่นอน
  • -มีรงควัตถุภายในเซลล์ เช่น คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ในคลอโรพลาสต์ (chloroplast) ที่ทำให้พืชสามารถสร้างอาหารเองได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสง (photosynthesis)
  • -มีวัฏจักรชีวิตแบบสลับ (alternation of generation) หรือระยะของการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์แบบสลับระหว่างระยะแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ที่เป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศผ่านการผสมของสเปิร์มและไข่ ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างเอ็มบริโอ (embryo) หรือต้นอ่อน และระยะสปอโรไฟต์ (sporophyte) ที่เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศผ่านการสร้างสปอร์

ลักษณะที่มีเฉพาะในพืชบก

  1. การมีเนื้อเยื่อเจริญที่ปลาย (apical meristem) ทำให้สร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ของพืชได้ พืชจะต้องมีการปรับตัวทางด้านโครงสร้างคือรากและลำต้น โดยการยืดตัวยาวออกและแตกกิ่งก้านของรากและลำต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ไปสัมผัสกับแหล่งปัจจัยที่ต้องการคือ คาร์บอนไดออกไซด์ แสง น้ำ และแร่ธาตุ การที่พืชจะเพิ่มความยาวของรากและลำต้นได้ ก็โดยการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายยอด ปลายกิ่ง ปลายรากแล้วมีการเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งเอพิเดอร์มิสที่ปกคลุมป้องกันพืช
  2. พืชส่วนใหญ่มีโครงสร้างที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ เรียกว่าแกมีแทนเจียม (gametangium) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีหลายเซลล์ แกมีแทนเจียมของพืชมีชั้นของเซลล์ที่เป็นหมัน (sterile cell) ล้อมรอบและป้องกันเซลล์สืบพันธุ์ (เซลล์ไข่และสเปิร์ม) ไว้ ไข่ที่ถูกปฏิสนธิเจริญเป็นเอ็มบริโอที่มีหลายเซลล์ และอยู่ในแกมีแทนเจียมเพศเมีย เอ็มบริโอจึงได้รับการปกป้องในขณะที่กำลังเจริญ
  3. มีวัฏจักรชีวิตแบบสลับ (alternation of generation) พืชมีช่วงชีวิตที่เป็นระยะแกมีโทไฟต์ (gametophyte) สลับกับช่วงชีวิตระยะสปอโรไฟต์ (sporophyte) แกมีโทไฟต์เป็นระยะที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์หรือแกมีต (gamete) คือไข่และสเปิร์มที่มีโครโมโซมชุดเดียว (n) เมื่อเกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับสเปิร์มจะได้ไซโกต (zygote) ที่มีโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (2n) หลังจากนั้นไซโกตแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสกลายเป็นเอ็มบริโอและต้นอ่อน ซึ่งเป็นระยะสปอโรไฟต์ เมื่อสปอโรไฟต์เจริญเต็มที่ จะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างสปอร์ (spore) ที่มีโครโมโซมแฮพลอยด์ (n) สปอร์แบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อเจริญเป็นระยะแกมีโทไฟต์อีก ระยะแกมีโทไฟต์จึงมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์อีกสลับกันไป
  4. มีสปอร์ที่มีผนังหุ้มเกิดอยู่ในสปอแรนเจียม ระยะสปอโรไฟต์ของพืชมีอวัยวะสปอแรนเจียม (sporangium) เป็นโครงสร้างที่สร้างสปอร์ภายในสปอแรนเจียมสปอร์มาเทอร์เซลล์ (spore mother cell) จะแบ่งไมโอซิสได้สปอร์ที่มีโครโมโซม n ส่วนเนื้อเยื่อของสปอแรนเจียมก็ช่วยป้องกันสปอร์ที่กำลังพัฒนาจนกว่าจะปลิวไปในอากาศ การมีสปอแรนเจียมจึงเป็นการปรับตัวของพืชบก
  5. มีแกมีแทนเจียมที่มีหลายเซลล์ (multicellular gametangium) ระยะแกมีโทไฟต์ของพืชพวกไบรโอไฟต์ (bryophyte) เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) และจิมโนสเปิร์ม (gymnosperm) สร้างแกมีตอยู่ในอวัยวะแกมีแทนเจียม โดยแกมีแทนเจียมเพศเมียเรียกว่าอาร์คีโกเนียม (archegonium) มีรูปร่างคล้ายคนโท ทำหน้าที่สร้างไข่ ส่วนแกมีแทนเจียมเพศผู้เรียกว่าแอนเทอริเดียม (antheridium) สร้างสเปิร์มซึ่งจะปล่อยออกสู่ภายนอก เมื่อเจริญเต็มที่แล้วสเปิร์มของพืชพวกไบรโอไฟต์ เทอริโอไฟต์ และจิมโนสเปิร์มบางชนิดมีแฟลเจลลาใช้ว่ายน้ำได้ จึงว่ายไปหาไข่และปฏิสนธิกับไข่ในอาร์คีโกเนียม ไข่ที่ถูกปฏิสนธิเจริญเป็นไซโกตแล้วพัฒนาไปเป็นเอ็มบริโอ

อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

ปัจจุบันอาณาจักรสัตว์จัดเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ บางพวกเซลล์ยังไม่รวมกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อ เช่น พวกฟองน้ำ สิ่งที่เหมือนกันในกลุ่มสัตว์คือเป็นพวกเฮเทอโรโทรปซึ่งไม่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเอง (heterotrophic organism) หรือในแง่ของนิเวศวิทยาจัดสัตว์ไว้ในกลุ่ม

ผู้บริโภค (consumer) ต้องได้อาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวเพื่อรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดี

กำเนิดของสัตว์อาณาจักรสัตว์ การศึกษาเสนอว่าบรรพบุรุษของสัตว์มีวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษของฟังไจ โดยบรรพบุรุษร่วมอาจมีลักษณะคล้ายโคแอนโนแฟลเจลเลต (choanoflagellate) ในปัจจุบัน แต่หลักฐานแรกทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่ยอมรับได้มีลักษณะคล้ายสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) พบซากดึกดำบรรพ์มากขึ้นในต่อๆ มา ซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของสัตว์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีแก๊สออกซิเจนมากพอที่สัตว์ใช้ในการดำรงชีวิต ทำให้สัตว์ต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอด

โดยทั่วไปเราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์ได้โดยใช้ลักษณะดังต่อไปนี้

  1. เป็นเซลล์ชนิดยูคาริโอต (eukaryotic cell)
  2. เป็นผู้บริโภคตลอดชีวิตเพราะสังเคราะห์อาหารเองไม่ได้
  3. มีหลายเซลล์ (multicellular) บางพวกยังไม่มีเนื้อเยื่อแต่ส่วนใหญ่หลายเซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อเป็นอวัยวะ และเป็นระบบอวัยวะ
  4. การเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ตอบสนองสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็ว บางชนิดอาจมีการเคลื่อนที่

บางช่วงของชีวิต เช่น ฟองน้ำ ในระยะเป็นตัวอ่อนจึงจะมีการเคลื่อนที่

ลักษณะต่างๆ ที่ใช้แยกกลุ่มของสัตว์

  • 1. ลักษณะโครงสร้างภายนอก หากมีลักษณะเหมือนๆ กันจัดไว้กลุ่มเดียวกัน
  • 2. เนื้อเยื่อสัตว์ บางชนิดยังไม่แยกเนื้อเยื่อออกเป็นชั้นๆ เช่น ฟองน้ำสัตว์ บางพวกมีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น (diploblastic) บางพวกมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (triploblastic)

               พวกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้โดยใช้ช่องว่างลำตัว (Coelom)

               ก. พวกที่ไม่มีช่องว่างในลำตัว (acoelomate) คือไม่มีช่องว่างในชั้นของเนื้อเยื่อหรือระหว่าง

    ชั้นของเนื้อเยื่อ ได้แก่ หนอนตัวแบน

               ข. พวกที่มีช่องว่างเทียมในลำตัว (pseudocoelomate) คือช่องว่างที่ไม่ได้อยู่ในเนื้อเยื่อ

    ชั้นกลาง (mesoderm) ช่องว่างนั้นอาจอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) กับ

    เนื้อเยื่อชั้นกลาง หรืออยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลางกับเนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) สัตว์ใน

    กลุ่มนี้ได้แก่ หนอนตัวกลม บางพวกมีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ได้แก่ หนอนตัวกลม โรติเฟอร์ 

               ค. พวกที่มีช่องว่างที่แท้จริง (coelomate) คือช่องว่างอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลาง 

    (mesoderm) ได้แก่ กุ้ง ปู แมลง หอย ไส้เดือนดิน และสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น

       3. สมมาตร (symmetry) การแบ่ง 2 ซีก ที่มีลักษณะเหมือนกันเรียกว่า สมมาตร แบ่งได้ 2 ชนิด คือ

  •            ก. สมมาตรแบบครึ่งซีกหรือแบบด้านข้าง (bilateral symmetry) สัตว์พวกนี้ผ่าได้ในแนว
  • เดียวเท่านั้นที่ให้ซีกซ้ายและซีกขวาเหมือนกัน พบในไส้เดือนดิน หอย สัตว์ที่มีขาเป็น
  • ปล้อง (arthropod) หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน และสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด
  •            ข. สมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) แบ่งตามรัศมีแล้วได้สมมาตรทุกครั้ง สัตว์เหล่านี้จะ
  • มีรูปโคน (cone shape) หรือรูปกรวยหรือรูปจาน ได้แก่ แมงกะพรุน ไฮดรา หวีวุ้น

        4. โครงร่างแข็งหรือกระดูก (skeleton) บางชนิดมีโครงร่างแข็งอยู่นอกร่างกาย (exoskeleton) เช่น กุ้ง ปู บางชนิดมีโครงร่างแข็งอยู่ภายในร่างกาย (endoskeleton) เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (chordate)

        5. การมีปล้อง (segmentation) ที่เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลางสัตว์ที่ไม่มีปล้อง ได้แก่ ฟองน้ำ แมงกะพรุน เป็นต้น ส่วนสัตว์ที่มีปล้อง ได้แก่ ไส้เดือนดิน สัตว์ที่มีขาเป็นปล้อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง 

        6. ทางเดินอาหาร ทางเดินอาหารของสัตว์สามารถใช้เป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่มสัตว์ได้

ก. ใช้ช่องทางเดินน้ำแทนทางเดินอาหาร (spongocoel) พบในฟองน้ำ

ข. ทางเดินอาหารที่มีทางเข้าออกทางเดียวกันช่องว่างนี้เรียกว่าช่อง

แกสโทรวาสคิวลาร์ (gastrovascular cavity) ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ลำเลียง หายใจ และ

ขับถ่าย ได้แก่ ไฮดรา ปะการัง แมงกะพรุน

ค. ทางเดินอาหารชนิดสมบูรณ์มีทางเข้าทางหนึ่งและทางออกอีกทางหนึ่ง ทำหน้าที่ย่อย

อาหารอย่างเดียว ส่วนใหญ่พบในสัตว์ที่มีสมมาตรชนิดครึ่งซีก ยกเว้นหนอนตัวแบน

      7. การสืบพันธุ์ มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในสัตว์ชั้นต่ำ เช่น ฟองน้ำ ไฮดรา แมงกะพรุน ในสัตว์ชั้นสูงจะมีการสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

      8. การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์ (blastopore) บลาสโทพอร์ที่เกิดในระยะแกสตรูลา (gastrula) ของตัวอ่อนจะมีการเปลี่ยนแปลง 2 แบบ คือ แบบโพรโทสโทเมีย (protostomia) คือพวกที่บลาสโทพอร์เจริญไปเป็นปาก และแบบดิวเทอโรสโทเมีย (deuterostomia) คือพวกที่บลาสโทพอร์เจริญไปเป็นทวารหนัก

     9. การเจริญในระยะตัวอ่อน ในสัตว์พวกโพรโทสโทเมียมีการเจริญของตัวอ่อน 2 แบบ คือ แบบที่มีตัวอ่อน (larva) ระยะโทรโคฟอร์ (trochophore) เรียกว่าพวกโลโฟโทรโคซัว (lophotrochozoa) และกลุ่มที่มีการลอกคราบ (ecdysis) ระหว่างการเจริญเติบโตเรียกว่าพวกเอกไดโซซัว (ecdysozoa) 

เหลือเวลาอีก
ชั่วโมง
นาที
วินาที
ชั่วโมง
นาที

ดีลดี ดีลเดียวก่อนหมดวันแห่งความรัก สมัครเลย

วันนี้เท่านั้น! รับ ID Book ฟรีทันที

ที่สาขาออนดีมานด์

พี่ออนดี้ส่งโมเมนต์สุดพิเศษให้น้อง

ต้อนรับวันวาเลนไทน์

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

พบกับข้อเสนอพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที

เหลือเวลา

ชั่วโมง
นาที
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !

นับถอยหลังก่อนสอบเข้าเตรียมอุดม (9 มี.ค. 67)

Days
ส่วนลดสูงสุด 500 บาท
3 ชม สุดท้ายแล้วสมัครคอร์เลย
ส่วนลดสูงสุด 1,000 บาท
รับฟรี! ชุดแนวข้อสอบ TPAT3
วันสุดท้ายแล้ว
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
สิ้นสุดการรอคอย สิทธิพิเศษเฉพาะคุณ TCAS DEK68 เวอร์ชั่นใหม่ มาแล้ว !
โปรสุดท้าย NETSAT
เพื่อน้องมข. อีก 14 วันก่อนสอบ
โปรสุดท้าย เพื่อน้อง TU
อีก 1 เดือน ก่อนสอบ
ด่วน LIVEติว เลข โค้งสุดท้าย
ก่อนสอบเตรียมอุดมฯ